บทนำ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของหริวรมันภิกษุ

บทนำ คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ของหริวรมันภิกษุ

คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ คัมภีร์นี้รจนา โดยพระภิกษุชาวอินเดียกลาง นามว่า หริวรมัน เป็นศิษย์ของพระกุมารริละภัตตะ ซึ่งเป็นพระเถระของนิกายเสาตรานติกะ มีช่วงชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 9 หลังพุทธกาล พระหริวรมันไม่เห็นด้วยในคำสอนที่ของอาจารย์ท่านในหลายละเอียดเรื่องต่างซึ่งอาจจะเป็นมติต่างๆ นิกายเสาตรานติกะเอง ท่านจึงได้แต่งคัมภีร์นี้เพื่อจะประมวลข้อคิดคำสอนและคำอธิบายพระธรรมของฝ่ายสาวกยานสำนักต่างๆ ในอินเดียครั้งนั้น ให้เข้ารูป เข้ารอยอันเดียวกัน และเป็นการรวมเอาของคำสอนเด่นๆ ของฝ่ายสาวกยานไว้มากที่สุด

นักวิชาการให้ความเห็นว่า คัมภีร์นี้เป็นความพยายามที่จะรวมนิกายในฝ่ายสาวกยานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างนิกาย หลังจากเกิดการแตกแยกและโจมตีกันทางปรัชญาอย่างหนัก ซึ่งก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ต่อมาฝ่ายมหายานได้นำคัมภีร์นี้ไปใช้

ส่วนพระหริวรมันนั้นไม่แน่ชัดว่าท่านสังกัดอยู่ในนิกายใด บางว่า สังกัดนิกายพหุศรุติกะ สำนักเสาตรานติกะ สำนักธรรมคุปต์ หรือ มะหีสาสกะ

ที่เรียกว่า “สัตยสิทธิ” ก็เพราะทำความจริงให้ปรากฎ คือความจริงอันแน่นอนว่า อาตมันเป็นศูนย์ ธรรมเป็นศูนย์ อีกประการคือกล่าวถึงความจริงสูงสุด หรือ อริยสัจ 4 เช่นนี้จึงเรียกว่า ประสิทธิประสาท (สิทธิ) ความจริง (สัตย์) ให้สัมฤทธิ์

คัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์ รจนาเป็นภาษาสันสกฤตแบบผสมในพุทธศาสนา  โดยมีเนื้อหา 5 บท (สกันธะ) แต่ละบทจะประกอบหัวข้อย่อย(วรรค) ดังที่จะนำเสนอดังนี้

สกันธะที่ 1  ปฺรถมะ ปฺรสฺถานสฺกนฺธะ บทแรกว่าหนทางการดำเนินในสัตยสิทธิ
มี 35 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 1-35


สกันธะที่ 2 ทุะขสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งทุกข์
มี 59 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 36-94


สกันธะที่ 3 สมุทยสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
มี 46 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 95-140

สกันธะที่ 4 นิโรธสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งนิโรธ คือ ความดับทุกข์
มี 14 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 142-154

สกันธะที่ 5 มารฺคสตฺยสฺกนฺธะ บทว่าด้วยความจริงแห่งมรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
มี 48 วรรค ตั้งแต่ วรรคที่ 155-202


ส่วนผู้ทำให้คัมภีร์นี้เป็นที่รู้จัก ต่อมาคือ ท่านกุมารชีพหรือกุมารชีวะ” ซึ่งเป็นคณาจารย์ชาวเตอร์กีสถาน ได้เดินทางมา ในจีนเหนือ ท่านผู้นี้ได้นำเอานิกายศูนยวาท ของพระนาคารชุนอันเป็นคณาจารย์ใหญ่ของฝ่ายมหายาน มาประดิษฐานในเมืองจีน โดยได้แปลผลงานของท่านนาคารชุนเอาไว้ พร้อมๆกับท่านได้นำนิกายศูนยวาทมหายานมาเผยแพร่นั้น ท่านกุมารชีพได้แปลคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง คือคัมภีร์สัตยสิทธิศาสตร์  จากผลงานที่แปลหนังสือเล่มนี้เป็นภาษาจีน ก็ทำให้สานุศิษย์ของท่านกุมารชีพในเมืองจีนนั้น ตั้งนิกายใหม่ อีกนิกายหนึ่ง เพื่อจะประกาศคติธรรมในคัมภีร์นี้โดยเฉพาะ ให้ชื่อว่านิกายสัตยสิทธิ ประกาศคติธรรมในคัมภีร์ปกรณ์นี้เป็นหลักใหญ่ เป็นนิกายที่แพร่ไปในจีนและญี่ปุ่นในเวลาต่อมา


ภาพ พระกุมารชีพ จากสารคดีพระกุมารชีพภาคภาษาจีน ในช่อง CCTV


อนุสาวรีย์ของพระกุมารชีพ หน้าทางเข้าถ้ำคีซิล  เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน


อ้างอิง

  • ประวัติพุทธศาสนาโดยย่อ โดยเฉพาะพุทธศาสนาฝ่ายมหายานและวัชรยาน
    http://www.mahayana.in.th/p/buddhismintro.html
  • Harivarman oxford reference
    http://www.oxfordreference.com/view/10.1093/oi/authority.20110803095921251
  • Harivarman: Satyasiddhisastra
    Based on the ed. N. Aiyaswami Sastri: Harivarman: Satyasiddhisastra,
    Vol. I, Baroda : Oriental Institute, 1975.
    (Gaekwad’s Oriental Series, 159)
    Input by Udip Shakya, 2008
    Proof-read by Udip Shakya
  • นิกายสัตยสิทธิ (เฉิงซื่อจง/成實宗)
    https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=482811565245709&id=442993079227558&substory_index=0
Author: admin